ที่ ศูนย์บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดกิจกรรรม “กาดโก้งโค้งเกษตรปี๋ใหม่เมือง ประจำปี 2565” ณ ลานจอดรถภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มช. เพื่อสืบสานประเพณีล้านนา รวมทั้งช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เครือข่ายผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตร และผู้ประกอบการ ตลอดจนประชาชนทั่วไปให้ได้มีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้า และเพื่อเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 55 ปี คณะเกษตรศาสตร์.
ช่วงเวลา 16.00 น.วันเดียวกัน ประกอบพิธีเปิดงาน “กาดโก้งโค้งเกษตรปี๋ใหม่เมือง” ฉลอง 55 ปี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยประธานในพิธีเปิดคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกศินี เกตุพยัคฆ์ รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์ มช. และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์ รอง ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการฯ เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมดังกล่าว นอกจากนี้ ภายในงานมีการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตร อาหารพื้นเมือง กล้าไม้พันธุ์ไม้ รวมทั้งมีการแสดงศิลปะพื้นบ้านล้านนา และนิทรรศการนวัตกรรมทางการเกษตร โดยกิจกรรมกาดโก้งโค้งปีใหม่เมืองจัดขึ้นในวันที่ 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2565 เวลา 8.00 – 20.00 น. ณ ลานจอดรถภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มช.
ระหว่างจัดงาน มีกิจกรรมที่น่าสนใจดังนี้ วันที่ 30 มีนาคม ที่ศูนย์บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ณ ลานจอดรถภาควิชาการสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ มีการแสดงซอฟื้นเมือง ปุยฝ้าย สันทรายและธวัช เมืองเถิน, เสวนา เรื่อง “ผลิตผักปลอดสารพิษในนิเวศเกษตร เมืองเชียงใหม่ ทำได้จริงหรือ”, เสวนา เรื่อง “๕๕ ปี ความเป็นมา เกษตร มช., การแสดงศิลปพื้นบ้านล้านนา.
กิจกรรมวันที่ 31 มีนาคม มีการเสวนาเรื่อง “แนวโน้มการเติบโตของตลาดกัญชา” การแสดงโฟล์คซองคำเมืองเอกตะเกียง, เสวนาเรื่อง “วิธีการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ และการผลิตแตงโมเมลอนคุณภาพ”, และการแสดงศิลปะพื้นบ้าน จากชมรมขับร้องประสานเสียง มช. และในวันสุดท้าย 1 เมษายน มีกิจกรรม มีการ Live รายการเกษตรวันศุกร์ หัวข้อ “วิธีการจัดการโรคราสนิมและสารอะฟลาทอกซินในกาแฟ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อังสนา อัครพิศาล, การแสดงโฟล์คซองคำเมือง (Toto ร้อยวง) และการแสดงล้านนาสามช่า เชิญชวนผู้ที่สนใจกิจกรรมดังกล่าว มาร่วมงาน “กาดโก้งโค้งเกษตรปี๋ใหม่เมือง ประจำปี 2565” ณ ลานจอดรถภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มช. ระหว่าง วันที่ 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2565 เวลา 8.00 – 20.00 น.
ที่น่าสนใจในช่วงการเสวนา เสวนา เรื่อง “ผลิตผักปลอดสารพิษในนิเวศเกษตร เมืองเชียงใหม่ ทำได้จริงหรือ” ในวันที่ 30 มี.ค.วันแรกของการจัดงาน มีนายฐากูร ปัญญาใส นักวิทยาศาสตร์เกษตร ทีมวิจัย มช.เป็นวิทยากร ได้เชิญนางอำพร ธนากูล กำนันตำบลแม่เหียะ ประธานโครงการ ถนนสีเขียวบ้านดอนปิน ซอย 5 ที่เข้าโครงการวิจัยการพัฒนาระบบนิเวศน์เกษตรเมืองเชียงใหม่ มช.พร้อม นางสุรีพรรณ ทองมณี อดีตข้าราชการเกษียณ คณะแพทย์ศาสตร์ มช. และเป็นอีกท่านหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการวิจัยการพัฒนาระบบนิเวศน์เกษตรเมืองเชียงใหม่.
นางอำพร ธนากูล กำนันตำบลแม่เหียะ จ.เชียงใหม่ ในฐานะประธานโครงการ “ถนนสีเขียวบ้านดอนปิน ซอย 5” หมู่ที่ 5 ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นำชาวบ้านเข้าร่วมโครงการวิจัยการพัฒนาระบบนิเวศน์เกษตรเมืองเชียงใหม่ ของทีมนายทัพไท หน่อสุวรรณ นักวิทยาศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) หัวหน้าโครงการวิจัยการพัฒนาระบบนิเวศน์เกษตรเมืองเชียงใหม่ นางอำพร กล่าวในการร่วมเสวนา บอกว่า เมื่อต้นเข้าโครงการฯดังกล่าวแล้วได้ความรู้มาบอกต่อให้ชาวบ้านปลูกผักปลอดสารพิษด้วยแล้ว ที่หมู่บ้านดอนปิน ซอย 5 ยังมีปราชญ์ชาวบ้าน คือนายดี จันทคลักษณ์ อดีตกำนัน ต.แม่เหียะที่ปลูกผักไว้รับประทานเองที่บ้าน และนำผักที่ปลอดภัยดังกล่าวส่งขายให้เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ที่มีความรู้เรื่องปลูกพืชผักมาก่อนได้แบ่งปันความรู้และเป็นพี่เลี้ยงให้ชาวบ้าน แนะนำการปลูกผักชนิดต่างๆ ชาวบ้านก็ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น.
“มีการผสมดินปลูกเอง ใช้ดินดำ มูลไก่ และขี้เถ่าดำ และใบฉำฉา ผสมเข้าด้วยกันนำมาใส่ถุงเพาะปลูก เป็นกระสอบสีขาวก็ปลูกพืชผักได้ทั่งบริเวณบ้าน ที่ระเบียนบ้าน หรือรั้วบ้านก็ได้ ได้เริ่มจากไม่กี่หลังคาเรือน วันนี้ปลูกได้กันทั้งซอย 5 แล้ว และยินดีที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวในชุมชนสร้างสรรค์ที่ได้เข้าโครงการวิจัยการพัฒนาระบบนิเวศน์เกษตรเมืองเชียงใหม่ ติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/smilegreenroad หรือโทร 084-6098320 ผักยิ้มแม่เหียะ หรือ MAE-HIA GREEN ROAD ที่นี้มีสินค้าผลผลิตจากผักปลอดสารพิษ มีอาหารปรุงสุกใหม่ๆสะอาดอร่อย และมีอาหารอร้อยและของฝากจำนวนมากอีกด้วย” นางอำพร ธนากูล กำนันตำบลแม่เหียะ กล่าว.
ด้านนางสุรีพรรณ ทองมณี ที่เข้าร่วมโครงการวิจัยการพัฒนาระบบนิเวศน์เกษตรเมืองเชียงใหม่ ตนทำอาชีพเสริมก่อนเกษียณแล้ว คือเพาะยอดอ่อนเมล็ดดอกทานตะวันส่งให้ลูกค้าสร้างอาชีพมานานแล้ว พอเกษียณ ก็หันมาปลูกผักปลอดสารเคมี ลองผิดลองถูกมานาน จนกระทั้งยกพื้นให้สูงเพื่อปลูกผัก และปลูกแบบปลูกผักออร์แกนิกได้ผล หอยไม่มารบกวน และยังได้ผลผลิตดี มีสามาธิ เพราะการนำเมล็ดเล็กๆลงปลูกในแผงเพาะเมล็ดช่องเล็กๆนั้นได้สมาธิสูง และมีความสุขมาก จนทุกวันนี้ปลูกพื้ชผัดกินเองได้หลายชนิด และนำส่งขายได้อีกด้วย ผู้สนใจเข้าไปเที่ยวชมได้ที่ผักปลอดสารจากชุมชนสุเทพ Suthep CM Clean Food for Life ผักปลอดสารจากชุมชนเกษตรนิเวศในเมือง หรือสอบถามได้ที่เบอร์ 063-8876701 (สวนป้าพรรณ).