เมื่อวันที่ 8 มี.ค.65 ชาวบ้านในพื้นที่ ต.สันทรายงาม อ.เทิง จ.เชียงราย นำโดย นายอรุณ จินณรักษ์ ประธานกลุ่มผู้คัดค้านโรงไฟฟ้าพลังงานชยะ ต.สันทรางาม พร้อมแกนนำประมาณ 10 คน ได้นำรถยนต์ประมาณ 30 คัน มวลชนประมาณ 200 คน แสดงป้ายข้อความต่างๆ เพื่อคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยโดยแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า เทศบาล ต.สันทรายงาม ได้เดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดเชียงราย เพื่อยื่นหนังสือต่อนายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย.
นายอรุณ กล่าวว่าโครงการจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะใช้ปริมาณขยะ 500 – 700 ตันต่อวัน ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 9.9 เมกกะวัตต์ และจะก่อสร้างในพื้นที่หมู่บ้านสันทราย หมู่ 7 ต.สันทรายงาม ซึ่งประชาชนไม่เห็นด้วยเพราะเกรงว่าจะได้รับผลระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จึงได้รวมตัวกันต่อต้านประมาณ 2,000 คน นอกจากนี้ยังพบมีการดำเนินการยังไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรมและขาดการมีส่วนร่วม และการทำประชาคมก็มีข้อน่าสังสัยหลายเรื่อง เช่น มีการขอเก็บบัตรประจำตัวประชาชน และสงสัยว่ามีการจ่ายเงินให้ชาวบ้านคนละ 100 บาท เพื่อให้ประชาคมผ่าน ทางกลุ่มผู้คัดค้านการก่อสร้างจึง เรียกร้องให้ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย มีคำสั่งให้ ยุติโครงการทันที และถอนถอนนายประสิทธิ์ พิลาวุฒิ นายกเทศมนตรี ต.สันทรายงาม และคณะผู้บริหารเทศาล ประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบล (ส.ท.) ให้พ้นตำแหน่งและคืนอำนาจให้ประชาชนได้เลือกตั้งใหม่ รวมทั้งให้ดำเนินคดีตามมาตรา 157 กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และให้ย้ายนายอำเภอเทิงออกจากพื้นที่ โดยจะมีการติดตามเพื่อหาคำตอบและการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง.
ต่อมานายบัญชา เชาวรินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้เข้ารับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายให้มารับเรื่องจากชาวบ้าน พร้อมแจ้งว่าปัจจุบันโครงการยังไม่ได้มีการก่อสร้างและเรื่องก็ยังไม่ถึงระดับจังหวัดโดยอยู่ในขั้นตอนการศึกษาและรับฟังความเห็นประชาชนในระดับตำบลอยู่แต่ทางจังหวัดรับปากจะติดตามอย่างใกล้ชิดทำให้กลุ่มผู้คัดค้านเข้าใจและแยกย้ายกันกลับไปรอคำตอบและยังคงมีการต่อต้านโครงการต่อไป.
ด้านนายประสิทธิ์ พิลาวุฒิ นายกเทศมนตรี ต.สันทรายงาม เปิดเผยว่าโครงการดังกล่าวใช้เทคโนโลยีกำจัดแบบเผาตรงที่ถูกลักษณะจึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถรองรับปริมาณขยะสูงสุด 500-700 ตันต่อวัน ไม่มีขยะมูลฝอยตกค้าง แก้ปัญหาขยะมูลฝอยในจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 9.9 เมกกะวัตต์ และยังเป็นโครงการที่เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน 100% มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท กำจัดขยะให้ 25 ปี รูปแบบเป็นโรงงานเผาแบบปิดไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ใช้พื้นที่ของโรงงาน 30 ไร่ เป็นบ่อน้ำ 25 ไร่ พื้นที่สีเขียว 10 ไร่ และที่พักคนงานถนน อีก 15 ไร่ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นประชาชน และจากการสำรวจพบว่าประชาชนเห็นด้วย 85.4% ซึ่งก็จะได้นำไปสรุปและจัดทำรายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ต่อไป ส่วนกรณีมีผู้มาคัดค้านก็จะได้จัดเสวนาและเชิญแกนนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะในเร็วๆนี้.
ภาพ/ข่าว.ณัฐวัตร ลาพิงค์/เชียงราย.