พะเยา ฮือฮา!กำนันสาวภูซาง เลี้ยงด้วงมะพร้าว นำชาวบ้าน สร้างรายได้

 

วันที่ 2 มี.ค 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่านางศศิธร อัศราช กำนันหญิงตำบลป่าสัก ม.6 ตำบลป่าสัก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยาได้พาผู้สื่อข่าวเข้าดูชาวบ้านที่ตนเองได้สนับสนุนและส่งเสริมให้เลี้ยงด้วงมะพร้าว หรือ (ด้วงสาคู)ชึ่งชาวบ้านในพื้นที่ หมู่ 6 บ้านป่าสักเลี้ยงด้วงมะพร้าว(ด้วงสาคู) และเพาะพันธุ์ เลี้ยงง่าย โตเร็ว ใช้เวลาเพียงเดือนเศษ ก็สามารถจับขายส่งจำหน่ายตลาดได้แล้วทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมเลี้ยงครอบครัว โดยการเลี้ยงด้วงมะพร้าง(ด้วงสาคู)ด้วยเทคนิคการเลี้ยงที่แปลก โดยนำมันสัปหลังที่ไม่มีค่านำมาแปรรูป ตากแห้งผสมกับวัสดุอื่นเป็นอาหารเลี้ยงด้วงมะพร้าว ใส่ไว้ในกะละมังเพาะเลี้ยงด้วงสามารถลดต้นทุนการเลี้ยงได้มาก และขายได้ราคากก.ละ250-300บาท หากเป็นด้วงที่เข้ารังหรือเป็นตัวเงาะก่อนเป็นดักแด้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ราคาจะสูงกก.ละ1,600-2,000 บาท และเป็นที่ต้องการของตลาด.

นางศศิธร อัศราช กำนันหญิง ตำบลป่าสัก บ้านป่าสัก ม.6 ตำบลป่าสัก กล่าวว่า ด้วงมะพร้าว หรือ(ด้วงสาคู) ได้ส่งเสริมชาวบ้านและนำมาเพาะเลี้ยงเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์โดยการเลี้ยง จะใส่กะละมัง พลาสติก กะละมังละ 5 คู่ วิธีสังเกตพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ตัวเมียจะมี งวงแหลม ขึ้นมาตรงหัว ส่วนตัวผู้จะมีงวงและมีขน ติดงวง ใส่กะละมัง หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน ด้วงมะพร้าว(ด้วงสาคู)ก็จะวางไข่ ซึ่งจะเกิดเป็นตัวหนอนตัวเล็กๆจำนวนมาก แล้วก็ทำการคัดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ออก และทำการเติมอาหารให้ด้วงมะพร้าว ชึ่งจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 1 เดือนตัวลูกอ่อนด้วงมะพร้าวหรือ(ด้วงสาคู)ก็จะเจริญเติบโตเต็มวัย จนอายุประมาณ 35 วัน นำออกมาขายกิโลกรัมละ 250 – 300 บาทสำหรับตัวอ่อนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่นำมาเข้าฝักหรือตัวเงาะเข้ารัง จะมีราคาสูงกิโลกรัมละ1,600-2,000บาทสามารถสร้างรายได้ให้ชาวบ้านและในชุมชนเป็นอย่างดี.

สำหรับด้วงมะพร้าวหรือด้วงสาคูถือได้ว่าเป็นแมลงเศรษฐกิจของกลุ่มชาวบ้านใน อ.ภูซาง ที่หันมาเลี้ยงและส่งออกขายตามตลาดทั่วไป เป็นแมลงที่มีโปรตีนสูง เมื่อนำทอดใส่ในกะทะจะมีลักษณะสีเหลืองอ่อนและผู้ที่ชอบเปิบแบบสดๆดิบๆก็สามารถนำมากินสดๆได้ ถือเป็นอีกอาชีพที่ทำมาหากินสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้ชาวบ้านป่าสัก.