กฟผ.แม่เมาะ จัดเวทีพบปะและให้ข้อมูลการยืดเวลาปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8 พร้อมเผยความคืบหน้าโครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ แก่สื่อมวลชนจังหวัดลำปาง ผ่านกิจกรรม “จิบกาแฟ แฉไอเดีย”

 

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 ณ เจเจปาร์ค ต.สบตุ๋ย อ.เมือง จ.ลำปาง การไฟฟ้าฝ่ายผลิแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ จัดกิจกรรม “จิบกาแฟ แฉ่ไอเดีย EP. 1” กิจกรรมเชิงรุกในการสร้างความเข้าใจภารกิจการดำเนินงานของ กฟผ.แม่เมาะ โดยมีนายจรัญ คำเงิน ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 เป็นผู้แทน กฟะ แม่เมาะ ให้ข้อมูลในประเด็นการยืดเวลาปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8 และความคืบหน้าการดำเนินโครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ (Mae Moh Smart City) แก่สื่อมวลชน จ.ลำปาง.

นายจรัญ คำเงิน ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 กล่าวถึงเหตุผลและความจำเป็นในการยึดเวลาปลด โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 8 ว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มี นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565 ได้เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อการผลิตก๊าชธรรมชาติ ในช่วงสิ้นสุดสัญญาสัมปทานแหล่งก๊าซเฮราวัณในวันที่ 23 เมษายน 2565 เนื่องจากความต้องการการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยใช้ก็าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก ดังนั้นเมื่อก๊าซในประเทศจากอ่าวไทยมีปริมาณไม่เพียงพอในช่วงการเปลี่ยนสัมปทาน จึงต้องเพิ่มการนำเข้า LNG ส่งผลให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าสูงขึ้นตามไปด้วย กพช. จึงกำหนดแนวทางและนโยบายในการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งการเลื่อนแผนการปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 8 ที่มีกำลังการผลิต 300 เมกะวัตต์ เป็นหนึ่งในแผนการรักษาความมั่นคงด้านพลังงแต่เดิม กฟผ. จะดำเนินการปลดระวางโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8 ในวันที่ 1 มกราคม 2565 ตามแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Revision 1) จึงได้เลื่อนการปลดระวางออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เพื่อให้โรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ต่ำกว่าก๊าซ LNG มาช่วยตรึงราคาต้นทุนค่ไฟฟ้า ซึ่ง กพผ. ได้สนองนโยบายโดยมีการบริหารจัดการทั้งกำลังคนเครื่องจักรและปริมาณถ่านหินลิกไนต์ ให้มีความพร้อมสูงสุดในการดำเนินการรักษาความมั่นคงด้านพลังงาน กฟผ.

ทั้งนี้ นายจรัญ คำเงิน ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ (Mae Moh Smart City) ว่า ในปี 2565 ถือเป็นก้าวสำคัญที่มีการจัดตั้งโครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยผนวกกับกองชุมชนสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะเดิม และเพิ่มหน่วยขับเคลื่อนจนใหม่ให้ดำเนินจานในมิตีางๆ เพื่อประสิทธิผสในระยะยาว โดยโครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ มี 3 หน่วยงานหลั่ก ได้แก่ 1. หน่วยงานวางแผนและบริหาร มีหน้าที่หลักในการจัดทำแผนงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย บริหารงบประมาณ ดำเนินการทัฒนาระบบสารสนเทศของโครงการ และประสานงานโครงการอพยพ.


2. หน่วยชุมชนสัมพันธ์ มีหน้าที่หลักในการประสานและบริหารจัดการงานเกี่ยวกับด้านชุมชนสัมพันธ์ ส่วน ราชการท้อถิ่น ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินขานของ อ.แม่เมาะ 3.หน่วยพัฒนาโครงการ มีหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนแผนงานด้านเศรษฐกิจยัจฉริยะ (Smart Economy)ด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) และ พลังงานอัจฉริยะ (Smant Enere9!) ทั้งการสนับสนุนและพัฒนากลุ่มอาชีพ การส่งเสริม การตลาดสินค้าชุมชน การดำเนินการติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการบริหารจัดการการใช้พลังงานอย่างชาญสาด และหาช่องทางความเป็นไปได้ในการนำพลังงานทางเลือกเข้ามาใช้ในพื้นที่ อ.แม่เมาะ ซึ่งการจัดตั้งโครงสร้างของโครงการแม่เมาะนำอยู่ขึ้นอย่างเป็นทางการ จะช่วยให้การดำเนินโครงการมีความเข้มแข็งในการจัดทำแผน และดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ตามแนวทางแผ่นงานของแม่เมาะเมืองน่าอยู่.